ทมยันตี เป็นนามปากกาของ คุณหญิงวิมล เจียมเจริญ (นามสกุลเดิม ศิริไพบูลย์; เกิด 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2480) เป็นนักประพันธ์นวนิยาย ผลงาน เช่น คู่กรรม, ทวิภพ, ค่าของคน, อุบัติเหตุ, ดาวเรือง, ล่า, เวียงกุมกาม, นากพัทธ์, พิษสวาท, ดั่งดวงหฤทัย, คำมั่นสัญญา, พี่เลี้ยง, เลือดขัตติยา และอื่นๆ ซึ่งมีการสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายยุคหลายสมัย
วิมล ได้ชื่อว่ามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับฝ่ายทหาร และมักสนับสนุนระบอบทหาร โดยเฉพาะในช่วง เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 วิมลมีบทบาทเป็นแกนนำสำคัญของชมรมแม่บ้าน ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของภรรยาข้าราชการ ภรรยานายพล และแม่บ้าน กับทั้งเคยปราศรัยโจมตีขบวนการนักศึกษาที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยว่า เป็นผู้บ่อนทำลายมิตรประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว วิมลได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลทหารให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
นอกจากความสัมพันธ์กับฝ่ายทหารในด้านหน้าที่การงานแล้ว ในด้านความประพฤติส่วนตัวนั้น วิมล ขณะดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ยังเคยถูกศาลฎีกาพิพากษาว่าเป็นชู้กับนายทหารซึ่งเป็นเพื่อนสมาชิกวุฒิสภาด้วยกัน และให้หย่าขาดจากสามีด้วย คดีนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ คดีทมยันตี หรือ คดีชู้รักบันลือโลก[ต้องการอ้างอิง]
วิมล ศิริไพบูลย์ มีชื่อเล่นว่า อี๊ด เกิดที่กรุงเทพมหานคร บิดาเป็นทหารเรือ ส่วนเชื้อสายทางมารดาเคยเป็นชาววัง และสืบเชื้อสายมาจากเจ้านายในราชวงศ์เวียงจันทน์ ถูกกวาดต้อนมาสยามเมื่อครั้งรัชกาลที่ 3 วิมลศึกษาชั้นประถมปีที่ 1 ถึงมัธยมปีที่ 8 ที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ จากนั้นเข้าศึกษาต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ภายหลังเปลี่ยนมาเรียนคณะพณิชยศาสตร์และการบัญชี จนจบอนุปริญญา
ขณะเรียนในชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปสมัครเป็นครูสอนวิชาภาษาไทย โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ เมื่อโรงเรียนรับสมัครเข้าเป็นอาจารย์
จึงลาออกจากธรรมศาสตร์ โดยระหว่างสอนหนังสือก็ได้เขียนหนังสือไปพร้อมกันด้วย
วิมลเริ่มเขียนเรื่องสั้นเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี ขณะเรียนอยู่ชั้นม. 4 ได้ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร ศรีสัปดาห์ และได้เขียนเรื่องสั้นต่อเนื่องอยู่ถึง 11 ปี ขณะที่เริ่มเขียนเรื่องยาวเรื่องแรกคือเรื่อง ในฝัน เมื่ออายุ 19 ปี ใช้นามปากกา โรสลาเรน ตีพิมพ์ในนิตยสารศรีสัปดาห์ วิมลเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายจนอายุ 70 ปีจึงเลิกเขียน
หลังจากเป็นแกนนำสำคัญของชมรมแม่บ้านโจมตีขบวนการนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 วิมลได้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
และต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, ปี พ.ศ. 2522 เป็นสมาชิกวุฒิสภา, และปี พ.ศ. 2527 ได้เป็นผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
ต่อมาสมรสกับ ร.ต.ท.ศรีวิทย์ เจียมเจริญ (ยศขณะนั้น) มีบุตรด้วยกัน 3 คน (ยอด,แก้ว,เด่น) และต่อมาได้เลิกร้างกัน โดยใน พ.ศ. 25.. ร.ต.ท.ศรีวิทย์ ฟ้องร้องว่า วิมลซึ่งกำลังดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา เป็นชู้กับ น.อ.อาคม อรรถเวทย์วรวุฒิ เพื่อนสมาชิก และขอให้ศาลบังคับให้วิมลหย่ากับตน พร้อมเรียกค่าเสียหายจากวิมลและ น.อ.อาคม เป็นจำนวนมาก คดียึดเยื้อไปถึงสามศาล ที่สุดศาลฎีกาวินิจฉัยว่า วิมลเป็นชู้กับ น.อ.อาคม จริง และพิพากษาให้ตามคำขอของ ร.ต.ท.ศรีวิทย์ อนึ่ง เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว วุฒิสภายังได้ลงมติให้ขับวิมลออกจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาด้วย
นอกจากนี้ ต่อมาใน พ.ศ. 2548 วิมลได้ฟ้อง พันตำรวจเอกศรีวิทย์ เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นคดีความยืดเยื้อกันไปถึงสามศาลอีกครั้งหนึ่ง
นวนิยายหลายเรื่องถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ เช่น คู่กรรม ทั้งสองภาค ดั่งดวงหฤทัย ทวิภพ คำมั่นสัญญา ดาวเรือง รอยอินทร์ ร่มฉัตร เลือดขัตติยา ในฝัน เป็นต้น นวนิยายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ คู่กรรม ภาคหนึ่ง
1.โรสลาเรน เป็นนามปากกาแรก เทียบคำในภาษาฝรั่งเศส แปลว่า "กุหลาบราชินี" ใช้เขียนเรื่องรักพาฝันหรือจินตนิยาย วิมลกล่าวว่านามปากกานี้นำมาจากชื่อนางเอกซึ่งเป็นนักร้องโอเปร่าในเรื่องสั้นของหลวงวิจิตรวาทการ
2. ลักษณวดี ใช้สำหรับเขียนนวนิยายรัก ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาของเหล่าเจ้าหญิงเจ้าชาย คำว่า "ลักษณวดี" มีความหมายว่า "นางผู้มีลักษณะดี , นางผู้งามเลิศ" วิมลนำชื่อ "ลักษณวดี" ซึ่งเป็นนางในวรรณคดีและเป็นมเหสีของพระลอดิลกราชจากวรรณคดีเรื่อง "ลิลิตพระลอ"
3.กนกเรขา ใช้สำหรับแต่งเรื่องตลกเบาสมอง คำว่า "กนกเรขา" แปลว่า "อักษรอันวิจิตร" วิมลนำชื่อ "กนกเรขา" ซึ่งเป็นนางในวรรณคดีเรื่อง "กนกนคร" ของ น.ม.ส. มาใช้เป็นนามปากกา
4. ทมยันตี (อ่านว่า ทะ-มะ-ยัน-ตี) แปลว่า
"นางผู้มีความอดทนอดกลั้น" เป็นนางในวรรณคดีเรื่อง "พระนลคำหลวง" ของ ร.6 เป็นนามปากกาที่ใช้แต่งเรื่องราวที่สะท้อนชีวิตและสังคม รวมทั้งแต่งเรื่องแนวจิตวิญญาณ วิมลเริ่มใช้นามปากกานี้ในการประพันธ์นวนิยายเรื่อง "รอยมลทิน" เป็นเรื่องแรก
5.มายาวดี ใช้เขียนเรื่องเกี่ยวกับศาสตร์แห่งเทวะ หรือเรื่องเล่าจากตำนาน ความเชื่อต่าง ๆ และในปัจจุบันยังใช้นามปากกานี้เขียนคอลัมน์ "สนธยากาล" ลงในนิตยสารขวัญเรือน
แม้ไม่ปรากฏว่างานเขียนของทมยันตีเคยได้รับรางวัลสำคัญ แต่เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าทมยันตีถือเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จ มีผลงานได้รับความนิยมอย่างสูงเป็นจำนวนมาก
เหตุผลที่ไม่มีผลงานของทมยันตีได้รับรางวัลทางวรรณกรรมใด ๆ นั้น เป็นเพราะทมยันตีไม่ประสงค์ให้นำผลงานของตนไปส่งประกวด และปฏิเสธการรับรางวัลทั้งปวง
ทมยันตีได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ ฉันเคยได้รับรางวัลจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ มาแล้ว นั่นคือรางวัลสูงสุดในชีวิต จากนั้นไม่เคยอยากได้รางวัลใด ๆ อีกเลย ”
และในขณะนี้ ทมยันตีได้เริ่มลงมือเขียนเรื่อง 'จอมศาสดา' ซึ่งจะเป็นเรื่องสุดท้ายที่ทมยันตีจะเขียนแล้ว จากนั้นทมยันตีจะหันหน้าเข้าสู่ความสงบใต้ร่มพระศาสนา
คู่กรรม, กษัตริยา-แก้วกัลยาแห่งแผ่นดิน-อธิราชา, เถ้ากุหลาบ, กฤตยา, ใยเสน่หา, แม่ดอกสวะ, เมียน้อย, เวียงกุมกาม, ร่มฉัตร, รอยลิขิต, ยอดอนงค์, รักลวง, รักที่ต้องมนตรา, ราชาวดี, แก้วกลางดง,มงกุฎหนาม, เจ้าแม่, โซ่สังคม, เทพบุตรสุดแสบ, แนวสุดท้าย, ใบไม้ที่ปลิดปลิว, แผลหัวใจ, เพลงชีวิต, วันที่รอคอย, สะพานดาว, สองชีวิต, สายรุ้ง,สำรองรัก, ศิวาลัย, สตรีหมายเลขหนึ่ง, มณีร้าว, สุริยวรรมัน, สุดหัวใจ, อย่าลืมฉัน, อันธการ, อตีตา, ล่า, ไวษณวี, คำมั่นสัญญา, คู่กรรม 2, คุณหญิงนอกทำเนียบ, จิตา, จดหมายถึงลูก(ผู้)ชาย, ชามี, ฌาน, ดาวเรือง, ดาวนภา, ตราบาป, ตะวันลา, ถนนสายหัวใจ, ทิพย์, นายกหญิง, นางเอก, บาป, ประกาศิตเงินตรา, พิเธีย, พี่เลี้ยง, พิษสวาท, ทวิภพ, คลื่นชีวิต, รายากุนิง, รอยมลทิน, มายา, พ่อไก่แจ้, จิตตเทวะ, ชามาช เปลวสุริยัน , นากพัทธ์ (2560)
ในฝัน, เมฆขาว, โสมส่องแสง, รอยอินทร์, ม่านหัวใจ, รอยอาลัย, มาลาเค, เงา, ทางรัก, สายสัมพันธ์, สิ้นสวาท, ค่าของคน, ตราบแผ่นดินกลบหน้า, บัลลังก์เงา, มงกุฎกุหลาบ, ริมหัวใจ (โรสลาเรน) สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรมพิมพ์รวมเล่มในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560
แรงรัก, เดชแม่ยาย, แต่งกับงาน, สมาคมม่าย, อุบัติเหตุ, ไอ้คุณผี, บิ๊กเสี่ย, พ่อม่ายทีเด็ด, พ่อครัวหัวป่าก์, พ่อปลาไหล
มหารานี, ดั่งดวงหฤทัย, รัศมีจันทร์, ราชินีชีบา, เลือดขัตติยา, เจ้าแห่งรัตติกาล, สายใจ, หนี้รัก, จักรพรรดินี, ธุวตารา, มงกุฎที่ไร้บัลลังก์, สรวงฟ้า, [บาดาล-เทวปักษี-เทพอวตาร], มนตราแห่งดารา
ตุ๊กตายอดรัก , กระดูกคู่ , ค่าของเงิน ,
คุณหมอ , คนชั่ว , คนเถื่อน , หัวใจเถื่อน, ผสมสิบ ,
ชุมทางชีวิต (รวมเรื่องสั้นประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 1.เรื่องของคุณแต๋ว 2.คนใช้ 3.12 ปี แห่งความหลังของศรีวิทย์ 4.ชีวิตของดารณี 5.36-22-36 ของยาหยี 6.คนที่มีค่าของปรางทอง 7.กามเทพของเจ้าหล่อน 8.ผมชื่อ "ตูบ" 9.หัวใจของหนู
10.วิชยา)
หนังสือพิเศษเกี่ยวกับประวัติและผลงานของคุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ที่รวบรวมโดยคุณประพนธ์ วิพัฒนพร (เจ้าของนามปากกาวิศวนาถ , ภูเตศวร) มีดังนี้